การแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์

ทำไมต้องเรียนรู้เรื่องซ่อมคอมฯ
เครื่องเสียบู๊ตไม่ขึ้น อุปกรณ์เจ๊ง ฮาร์ดดิสก์พัง ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ดูจะเรื่องปกติ ที่ผู้ใช้คอมฯ ทุกท่านจะต้องเจออย่างแน่นอน ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ถ้าจะให้ทุกคนลุกขึ้นมาแก้ปัญหาหรือซ่อมเองก็เป็นเรื่องยาก เพราะถ้าเป็นอาการเสียทางด้านฮาร์ดแวร์ทุกคนก็มักจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แล้วก็ส่ายหัวเมื่อเจอปัญหาเหล่านี้ เพราะกลัวว่าถ้าซ่อมเองแล้วเครื่องจะพัง สู้ยกเครื่องไปให้ร้านซ่อมดีกว่า เพื่อความมั่นใจ
      ทุกครั้งเมื่อยกเครื่องไปที่ร้าน ก็ต้องเสียค่าซ่อมอย่างน้อย ๆ ก็ 500 บาท เป็นราคามาตรฐานที่ค่อนข้างสุง ยิ่งถ้าช่างแค่เปิดฝาเครื่องแล้วขยับสายเล็กน้อย เครื่องก็หายเป็นปกติ ยิ่งรู้สึกไม่อยากจะจ่ายค่าซ่อมเลย แต่ถ้ามีอุปกรณ์พังก็ยังดี แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าราคาอุปกรณ์ที่เปลี่ยนนั้นร้านซ่อมขายให้ในราคาแพงเกินจริงหรือเปล่า และเปลี่ยนอุปกรณ์แล้วเครื่องจะหายจริงใหม หรือว่าถูกหลอกวางยาให้คุณยกมาซ่อมอีก เรียกว่าซ่อมกันไม่รู้จบสักที ที่กล่าวมาทั้งหมดทาง Bcoms อยากจะแนะนำให้ทุกท่านเห็นประโยขน์ ในการเรีนรู้ทางด้านฮาร์แวร์บ้าง เพื่อให้สามารถตรวจซ่อมละแก้ปัญหาเบื้องต้นได้โดยไม่ต้องเครื่องไปให้ช่างซ่อม
      Bcom.net สร้างขึ้นมีจุดประสงค์เพื่อเป็นคู่มือในการแก้ปัญหา ที่จะช่วยให้ผู้เข้าชมเว็บ Bcoms ทั้งที่ไม่เคยจับคอม ฯ มาก่อนเลย หรือที่เคยใช้งานมาบ้างแล้ว สามารถวิเคระห์และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้เอง


 
 
แผนผังกระบวนการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์
Service Computer

    หมดปัญญาซ่อมเองทำอย่างไร ? ปัญหาหรืออาการเสียหลายอย่างจำเป็นจะต้องใช้ทักษะในการตรวจซ่อมสูง ซึ่งต้องอาศัยช่างที่มีความเชี่ยวชาญหรือชำนาญเป็นพิเศษ แต่ถ้าคุณไม่มีก็อย่าเสี่ยงซ่อมเอง เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น ทางที่ดีส่งซ่อมดีกว่า เช่น งานบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค เปลี่ยนแผ่นวงจรบนฮาร์ดดิสก์ ซ่อมเมนบอร์ด หลดภาพของจอมอนิเตอร์เสื่อม เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้แนะนำให้ส่งซ่อมดีกว่า หรือถ้าอุปกรณ์ ยังอยู่ในประกันก็ส่งเคลมดีที่สุด 
กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์
ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้

1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code
      ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป

2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ

      การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น
CMOS checksum Error
CMOS BATTERY State Low
HDD Controller Failure
Diskplay switch not proper
    ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดู ก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น

3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ
    วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหน มีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการ ผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่าง ผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้

4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย
    ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา

5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง
    สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที แล้วคุณจะทำอย่างไร ????? บีคอมมีคำตอบให้คุณ

 

เรียนลัดคำสั่ง Dos ที่จำเป็นสำหรับการซ่อมคอม
ความจำเป็นในการใช้ (Dos) ยังคงมีอยู่ แม้ว่าในปัจจุบันบทบาทของมันจะเริ่มลดลงไปมากหลังจาก Windows เริ่มมีความสมบูรณ์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ชนิดที่ไม่ต้องพึ่งดอสเลย แต่ถ้าเมื่อไรเครื่องของคุณยังไม่มี Windows หรือเข้าไปใช้งาน Windows ไม่ได้ คำสั่งดอสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้คำสั่งดอสจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เช่นการ การซ่อมแซมไฟล์ที่เสีย ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล แก้ปัญหา Bad Sector ฯลฯ ดังนี้เราควรทราบคำสั่งบางคำสั่งที่จำเป็นไว้บ้างเพื่อนำไปใช้งานในยามฉุกเฉิน
        Dos ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฎิบัติการรุ่นแรก ๆ ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฎิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบปฎิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows ลองมาดูกันว่าคำสั่งไหนบ้างที่เราควรรู้จักวิธีใช้งาน

CD คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่
       CD (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ในโหมดดอส เช่น ถ้าต้องการรัน คำสั่งเกมส์ที่เล่นในโหมดดอส ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี MBK ก็ต้องเข้าไปในไดเร็คทอรีดังกล่าวเสี่ยก่อนจึงจะรันคำสั่งเปิดโปรแกรมเกมส์ได้
รูปแบบคำสั่ง
CD [drive :] [path]
CD[..]
        เมื่อเข้าไปในไดเร็คทอรีใดก็ตาม แล้วต้องการออกจากไดเร็คทอรีนั้น ก็เพียงใช้คำสั่ง CD\ เท่านั้นแต่ถ้าเข้าไปในไดเร็คทอรีย่อยหลาย ๆ ไดเร็คทอรี ถ้าต้องการออกมาที่ไดรว์ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ให้ใช้คำสั่ง CD\ เพราะคำสั่ง CD.. จะเป็นการออกจากไดเร็คทอรีได้เพียงลำดับเดียวเท่านั้น
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง

 
CD\
กลับไปที่ Root ระดับสูงสุด เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\>docs\data> หลังจากใช้คำสั่งนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ C:\ >
 
CD..
กลับไปหนึ่งไดเร็คทอรี เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\windows\command> หลังจากนั้น ใช้คำสั่งนี้ก็จะก็จะย้อนกลับไปที่ C:\windows>

CHKDSK (CHECK DISK) คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์
        CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยความจำ และการใช้งานดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ การรายงานผลของคำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ไดเร็คทอรี และ FAT ของดิสก์ หรือไฟล์ เพื่อหาข้อมผิดพลาดของการเก็บบันทึก ถ้า CHKDSK พบว่ามี Lost Cluster จะยังไม่แก้ไขใด ๆ นอกจากจะใช้สวิตซ์ /f กำหนดให้ทำการเปลี่ยน Lost Cluster ให้เป็นไฟล์ที่มีชื่อไฟล์เป็น FILE0000.CHK ถ้าพบมากว่า 1 ไฟล์ อันต่อไปจะเป็น FILE0002.CHK ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานปัญหาที่ตรวจพบได้อีก อย่างเช่น จำนวน Bad Sector , Cross-ling Cluster (หมายถึง Cluster ที่มีไฟล์มากกว่าหนึ่งไฟล์แสดงความเป็นเจ้าของ แต่ข้อมูลใน Cluster จะเป็นของไฟล์ได้เพียงไฟล์เดียวเท่านั้น)
รูปแบบคำสั่ง
CHKDSK [drive:][[path]filename] [/F] [/V]
[drive:][path]         กำหนดไดรว์ และไดเร็ทอรีที่ต้องการตรวบสอบ
filename         ชื่อไฟล์ที่ต้องการให้ตรวจสอบ
/F         สั่งให้ Fixes Errors ทันทีที่ตรวจพบ
/V         ขณะที่กำลังตรวจสอบ ให้แสดงชื่อไฟล์และตำแหน่งของดิสก์บนหน้าจอด้วย
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง

  C:\WINDOWS>CHKDSK D: ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานดิสก์ในไดรว์ D
  C:\>CHKDSK C: /F ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา

COPY คำสั่งคัดลอกไฟล์
       Copy เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ จากไดเร็คทอรีหนึ่งไปยังไดเร็คทอรีที่ต้องการ คำสั่งนี้มีประโยชน์มากควรหัดใช้ให้เป็น เพราะสามารถคัดลอกไฟล์ได้ยามที่ Windows มีปัญหา
รูปแบบคำสั่ง
COPY [Source] [Destination]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


  C:\COPY A:README.TXT คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ A ไปยังไดรว์ C
  C:\COPY README.TXT A: คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ C ไปยังไดรว์ A
  C:\INFO\COPY A:*.* คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
  A:\COPY *.* C:INFO คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C

DIR คำสั่งแสดงไฟล์และไดเร็คทอรีย่อย
        เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี คำสั่งนี้ถือเป็นคำสั่งพื้นฐานที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อจะได้รู้ว่าในไดรว์หรือไดเร็คทอรีนั้น ๆ มีไฟล์หรือไดเร็คทอรีอะไรอยู่บ้าง
รูปแบบคำสั่ง
DIR /P /W
/P     แสดงผลทีละหน้า
/W    แสดงในแนวนอนของจอภาพ
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง

  C:\>DIR ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C
  C:\>DIR /W ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C ในแนวนอน
  C:\>INFO\DIR /P ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีย่อยในไดเร็คทอรี INFO โดยแสดงทีละหน้า
  C:\>INFO\DIR *.TEX ให้แสดงรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเร็คทอรี INFO เฉพาะที่มีนามสกุล TXT เท่านั้น
  C:\> DIR BO?.DOC ให้แสดงรายชื่อไฟล์ในไดรว์ C ที่ขึ้นต้นด้วย BO และมีนามสกุล DOC ในตำแหน่ง ? จะเป็นอะไรก็ได้
ไขปัญหาในเรื่องทั่วไปบนวินโดวส์
   ติดตั้งโปรแกรมหรือไดรเวอร์ไปแล้วเข้าวินโดวส์ไม่ได้
  ลงโปรแกรม Norton AntiVirus ไปแล้ว พอบูตเครื่องขึ้นมาอีกทีก็เข้าวินโดวส์ไม่ได้แล้ว ปัญหาทำนองนี้พบค่อนข้างบ่อยมาก อาจจะเนื่องมาจากในบ้านเราผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรมเถื่อนที่มีขายอยู่ทั่วไปตามห้างไอที ทำให้บางครั้งในขั้นตอนการผลิตซีดีไม่ได้มาตรฐานไฟล์บางตัวเลยก๊อปปี้มาไม่ ครบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นซีดีโปรแกรมที่เป็นแผ่น รวมหลายสิบโปรแกรมนั้น ค่อนข้างจะมีปัญหาเยอะมาก เมื่อผู้ใช้ซื้อไปติดตั้งจึงมีปัญหาตามมาหรือบางโปรแกรม เช่น Norton AntiVirus ชอบที่จะเข้าไปขอใช้ไฟล์ระบบที่มีนามสกุล DLL เมื่อมีการติดตั้งไม่สมบูรณ์เลยทำให้ ไม่สามารถเข้าวินโดวส์ได้
   อีกสาเหตุหนึ่งก็เนื่องมาจากการลงไดรเวอร์นั่นเอง ไดรเวอร์บางตัวก็มักมีปัญหากับระบบปฏิบัติการและชอบเข้าไปยุ่งกับไฟล์ ระบบทำให้วินโดวส์พังก็มีให้เห็นมาแล้ว สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาของ ช่างคอมพิวเตอร์นั้น ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เสียก่อน หากพบว่าได้มีการติดตั้งโปรแกรม หรือไดรเวอร์ลงไปหลังจากนั้นก็ทำให้บูตเข้าวินโดวส์ไม่ได้อีกเลย ให้เราสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเกิดจากสาเหตุการลงโปรแกรมและไดรเวอร์ไม่สมบูรณ์จนอาจทำให้ระบบไม่สามารถบูตได้ โดยเราสามารถแก้ปัญหาได้ดังนี้
  ให้บูตเครื่องเข้าสู่ Safe Mode เพราะการเข้าสู่ Safe Mode จะเป็นการเข้าสู่วินโดวส์โดยที่ไม่ จำเป็นต้องใช้ไดรเวอร์หรือไฟล์บางตัว จากนั้นให้เราเข้าไปลบโปรแกรมหรือไดรเวอร์ที่ทำให้เกิดปัญหาออกไปจากเครื่องให้หมดเกลี้ยงอย่าให้เหลือซาก จากนั้นจึงบูตเครื่องเข้าสู่วินโดวส์ได้ตามปกติ
    เครื่องบูตขึ้นแต่ไม่สามารถเข้าวินโดวส์ได้
    กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ผ่านขั้นตอนการ POST แล้ว แต่กลับมาค้างที่หน้าจอแสดงโลโก้วินโดวส์ทำให้ไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้เลย บางครั้งก็ยังไม่แสดงโลโก้ของวินโดวส์แต่กลับมีข้อความแจ้งขึ้นมาว่า “Missing Operation System”
  สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ก่อน ว่าได้มีการลบไฟล์ระบบบางตัวออกไปหรือเปล่า ส่วนใหญ่ปัญหานี้มันเกิดจากไฟล์ระบบ COMMAND.COM เสียหายหรือถูกลบทิ้งไปเนื่องจากว่าไฟล์ COMMAND.COM เป็นไฟล์ที่มีหน้าที่เก็บคำสั่งภายในของระบบดอสเอาไว้ เช่น TYPE, COPY, DIR, DEL นอกจากนี้ก็ยังทำหน้าที่ ติดต่อและแปลคำสั่งของผู้ใช้ผ่านคีย์บอร์ด และนำคำสั่งนั้นไปปฏิบัติงาน ซึ่งนับว่าไฟล์ COMMAND.COM นั้นมีความสำคัญต่อระบบปฏิบัติการที่ยังต้องอิงกับระบบดอสอยู่มาก
  วิธีแก้ไขก็คือ ให้บูตเครื่องด้วยแผ่น Startup Disk จากนั้นพิมพ์คำสั่ง SYS C: ซึ่งเป็นคำสั่ง ก๊อปปี้ไฟล์ระบบลงไปในไดรฟ์ C: โดยที่ไฟล์ระบบนั้นจะมีไฟล์ COMMAND.COM รวมอยู่ด้วย จากนั้นให้บูตเครื่องขึ้นมาอีกครั้งคราวนี้จะพบว่าสามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้ แล้ว
    ข้อความผิดพลาดที่ 1 : This program has performed anillegal operation and will be shut down. If the problem persists, contact the program vendor
    ข้อความนี้แจ้งว่าโปรแกรมบางตัวมีปัญหาเราคงต้องมานั่งไล่กันว่าโปรแกรม ที่ติดตั้งครั้งหลังสุดคือโปรแกรมอะไร แล้วลองลบออกไปโดยการ Add / Remove Program ใน Control Panel หลังจากนั้น จึงติดตั้งใหม่ โดยแนะนำว่าเปลี่ยนแผ่นโปรแกรมที่ใช้ติดตั้งเสียใหม่ เพราะหากใช้แผ่นเก่าอาจเป็นเหมือนเดิมอีก หรือบางครั้งเกิดจากไฟล์โปรแกรมที่ติดตั้งครั้งหลังสุดมีปัญหากับไฟล์ โปรแกรมที่ติดตั้งมาก่อนหน้านี้ เมื่อติดตั้งใหม่จึงอาจมีอาการเหมือนเดิมควรแก้ไขโดยการอัพเดทเป็นโปรแกรม เวอร์ชั่นใหม่
    ข้อความผิดพลาดที่ 2 : Improper shut down detected, Checking disk for errore
    ข้อความนี้แจ้งว่าพบปัญหาผิดพลาดในขั้นตอนการชัตดาวน์ อาจเกิดจากการผู้ใช้ปิดเครื่องไม่ถูกวิธี ทำให้ระบบชัตดาวน์มีปัญหา วิธีแก้ไขคือให้รอสักพักแล้วค่อยกดปุ่ม Esc ระบบก็จะกลับเป็นปกติ ดังนั้นหาก ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก คราวหลังก็ควรปิดคอมพิวเตอร์ให้ถูกวิธีด้วยการชัตดาวน์เครื่องก่อนเสมอ
    ข้อความผิดพลาดที่ 3 : Warning Windows has detected a Registry / configuration error. Choose Safe mode to start Windows with minimal set of drivers
    ข้อความนี้แจ้งว่าพบปัญหาผิดพลาดในรีจิสทรีของวินโดวส์ โดยวินโดวส์จะแนะนำให้เราเข้าไปใน Safe mode เพื่อแก้ปัญหา สำหรับการแก้ปัญหาข้อความนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องหนักหนาและเสี่ยงมากทีเดียว เนื่องจากว่ารีจิสทรีเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่เก็บรายละเอียดและค่าต่าง ๆ ของวินโดวส์ไว้ หากมีปัญหาในส่วนนี้ ต้องอาศัยการแก้ไขอย่างรอบคอบ ไม่อย่างนั้นอาจทำให้ระบบพังได้ แนะนำว่าให้แก้ปัญหาโดยการติดตั้งวินโดวส์ใหม่ทับลงไปเพื่อให้รีจิสทรีใหม่ ทับรีจิสทรีเก่า หรือให้บูตเครื่องด้วยแผ่นบูตแล้วพิมพ์คำสั่ง Scanreg / restore เพื่อเป็นการย้อนกลับไปใช้รีจิสทรีที่วินโดวส์ได้แบ็คอัพเก็บไว้ 5 วันหลังสุด ก็ให้เราเลือกวันที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหา เพียงเท่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ครบ ( วิธีหลังนี้อย่าลืมแบ็คอัพข้อมูลสำคัญๆ ไว้เสียก่อนละ )
    ข้อความผิดพพลาดที่ 4 : Explorer has caused an error in Kermel132.dll
    ข้อความนี้แจ้งว่าระบบมีความผิดพลาดในไฟล์ Kernel132.dll ทำให้ผู้ใช้อาจไม่สามารถเข้าไปใน Control panel ได้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบนวินโดวส์ Me วิธีแก้ปัญหาคือให้บูตเครื่องใหม่แล้วเข้าไปที่
Safe Mode แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้
1. ให้ค้นหาไฟล์ที่มีนามสกุล *.cpl โดยเข้าไปค้นหาที่โปรแกรม Search, For Files Or Folders
2. เมื่อพบไฟล์ .cpl แล้ว ซึ่งอยู่ที่ WINDOWS\SYSTEM ให้เปลี่ยนนามสกุลเป็น .Old ทีละไฟล์ แล้วลองเข้าไปทดสอบดูว่าเข้า Control panel ได้หรือยังถ้า ยังไม่ได้ให้กลับไปเปลี่ยนเป็นไฟล์ตัวอื่น จนกว่าจะสำเร็จ เมื่อสำเร็จแล้วเราก็จะสามารถรู้ได้ว่าไฟล์ตัวไหนที่เป็นต้นเหตุให้เกิด ปัญหา
3. ให้กลับไปเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ทุกไฟล์ให้กลับเป็นเหมือนเดิม ยกเว้นไฟล์ที่เป็นต้นเหตุ จากนั้นบูตเครื่องขึ้นใหม่
    ข้อความผิดพลาดที่ 5 : The selected disk drive is not in use. Check to make sure a disk is inserted.
    ข้อความนี้แจ้งว่าดิสก์ไดรฟ์ไม่สามารถใช้งานได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้มีการใส่แผ่นดิสก์ลงไปในช่องดิสก์ไดรฟ์แล้ว สำหรับปัญหานี้อาจเกิดจากผู้ใช้ลืมใส่แผ่นดิสก์ลงไปในช่องดิสก์ไดรฟ์ แต่หากได้มี การใส่แผ่นลงไปแล้วปัญหานี้อาจเกิดจากแผ่นดิสก์เสียหรือดิสก์ไดรฟ์มีปัญหา ไม่สามารถใช้งานได้ให้เราทดสอบแผ่นดิสก์โดยนำไปใช้กับเครื่องอื่นหากสามารถใช้ได้ นั่นแสดงว่าเป็นที่ดิสก์ไดรฟ์ต้องถอดมาซ่อมหรือเปลี่ยนเป็นตัวใหม่ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้
    ข้อความผิดพลาดที่ 6 : There is not enough free memory to run this program. Quit one or more programs, and try again.
    ข้อความนี้แจ้งว่าหน่วยความจำที่เหลืออยู่ในระบบไม่เพียงพอในการเปิด โปรแกรม ให้แกจากโปรแกรมแล้วลองเปิดใหม่อีกครั้ง สำหรับสาเหตุของปัญหานั่นคือหน่วยความจำหรือแรมของเครื่องไม่พอนั่นเอง วิธีแก้ปัญหาแบบถาวร ( แต่ต้องเสียเงิน ) ก็คือ ให้ผู้ใช้ซื้อแรมมาติดตั้งเพิ่ม หรือวิธีแก้แบบชั่วคราวก็คือ ในขณะใช้งานแนะนำให้ผู้ใช้ปิดโปรแกรมที่ไม่จำเป็นลงไปบ้าง โดยเฉพาะโปรแกรมที่ทำงานอยู่เบื้องหลังโดยที่เราไม่ได้เปิดขึ้นมาใช้งาน ให้สังเกตจากบริเวณ System Tray จะมีไอคอนของโปรแกรมนั้นๆ อยู่ ให้จัดการปิดให้หมดหรือโปรแกรมประเภทที่ชอบกินแรม ( Resource Leak ) ซึ่งโปรแกรมพวกนี้แม้ว่าจะปิดโปรแกรมไปแล้วก็ยังไม่ยอมคืนหน่วยความจำกัลบมา สู่ระบบ ซึ่งเราสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ว่าระบบของเราเหลือ รีซอร์สเท่าไหร่โดยคลิกขวาที่ My Computer จากนั้นคลิกแท็ป Performance ดูที่ System Resource ว่าเหลือรีซอร์สกี่เปอร์เซ็นต์ หากต่ำกว่าครึ่งก็ให้ปิดโปรแกรมแล้วบูตเครื่องขึ้นมาใหม่โปรแกรมเหล่านั้นก็ จะคืนแรมกลับมาเหมือนเดิม
    ข้อความผิดพลาดที่ 7 : Error Reading CD-ROM in Drive D: ( หรือไดรฟ์ที่เป็นซีดีรอม ) Please insert CD-ROM XX With Serial Number XX in Drive d: … if the CD-ROM is still the drive, it may require cleaning
    ข้อความผิดพลาดนี้จะแจ้งขึ้นมาว่าเกิดความผิดพลาดจากการอ่านแผ่นซีดีใน ไดรฟ์ D: ( หรือไดรฟ์ที่เป็นซีดีรอม ) ซึ่งสาเหตุมาจากที่ผู้ใช้กดปุ่ม Eject เพื่อนำแผ่นซีดีรอมออกมาก่อนที่วินโดวส์ จะอ่านข้อมูลเสร็จ วิธีแก้ไขก็คือ ให้นำแผ่นใส่กลับไปเหมือนเดิมรอจนกว่าวินโดวส์จะอ่านข้อมูลจากแผ่นเสร็จแล้ว จึงค่อยนำออกมา โดยให้สังเกตจากหลอดไฟที่ตัวไดรฟ์ซีดีรอม ควรรอให้ไฟหยุดกระพริบเสียก่อน บางครั้งสาเหตุนี้ก็อาจเกิดจากการที่ผู้ใช้นำแผ่นซีดีที่ใช้งานไม่ได้แล้ว ใส่ลงไป หรือไม่ก็แผ่นซีดีสกปรกจนไดรฟ์ซีดี ไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ ควรนำออกมาทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนใส่กลับไปอีกครั้งหนึ่ง
    ข้อความผิดพลาดที่ 8 : -0x0000007B INACCESSIBLE_BOOT_DEVICE
    ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งเป็นโค้ด error โดยใช้เลขฐานเป็นตัวแสดงความผิดพลาด ซึ่งหมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่พบพาร์ทิชั่นที่กำหนด ให้เป็นตัวบูตระบบพาร์ทิชั่นที่กำหนดหรือบูตเซ็กเตอร์เกิดมีปัญหา ให้เราแก้ปัญหาโดยลองบูตระบบขึ้นมาอีกครั้ง หากยังคงไม่ได้ให้นำแผ่น Startup บูตระบบขึ้นมาแทนแล้วใช้คำสั่ง Scandisk เพื่อซ่อมแซม  
 
ไขปัญหาหนังไม่มีภาพ เพลงไม่มีเสียง
    ไอคอนลำโพงหายไปไหน...???
    ช่วยด้วยครับ ลำโพงตรงทาส์กบาร์ด้านล่างขวาสุดหายไป ทำยังไงจึงจะให้มีรูปลำโพงปรากฏขึ้นมาอีกครั้ง ตอนนี้ผมไม่สามารถปรับสียงได้เลย วานช่วยหาวิธีการแก้ไขให้ทีครับ หลายคนเมื่อเจอปัญหานี้ก็มักตกอกตกใจ คิดว่าวินโดวน์เจ็งอีกแล้ว จริง ๆ แล้วปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้นมาได้ 2 กรณีคือ
- ไดรเวอร์การ์ดเสียงหายไป
- กำหนดให้ไอคอนลำโพงไม่แสดงขึ้นมา
     โดยในกรณีแรกนั้นอาจเกิดจากไดรเวอร์การ์ดเสียงหายไป ทางแก้ไขก็ให้ทำการติดตั้งไดรเวอร์การ์ดเสียงลงทับไปใหม่ ซึ้งมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกขวาที่ไอคอน My computer แล้วเลือกคำสั้ง properties
2. คลิกไปที่แท็ป Device Manager
3. คลิกปุ่ม Refresh เพื่อให้วินโดวส์ทำการค้นหาอุปกรณ์ที่ยังไม่ได้ติดตั้งไดรเวอร์
4. รอสักครู่ก็จะปรากฏหน้าต่าง Add New Hardware wizard ขึ้นมา ซึ่งจะมีตัวเลือก 2 ตัวเลือก คือ
Automatic search . . .
    ให้วินโดวส์ทำการค้นหาไดรเวอร์ให้อัตโนมัติ ซึ่งหากว่ามีไดรเวอร์อยู่ในเครื่อง หรือมีแผ่นไดรเวอร์อยู่ในซีดีรอม วินโดวน์ก็จะนำมาติดตั้งให้ทันที
Specify the location
ทำการติดตั้งไดรเวอร์ด้วยตัวเอง
ในที่นี้ขอเลือกตัวเลือก Specify the location…
5. คลิกปุ่ม Next เพื่อทำขั้นตอนต่อไป
6. เลือกไปที่ตัวเลือก Search for the best… เพื่อให้วินโดวส์ค้นหาไดรเวอร์จากไดรว์ซีดีรอมหรือไดรว์ A
7. คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก Removable Media ... เพื่อทำการติดตั้งไดรเวอร์จากแผ่นไดรเวอร์ ซึ่งคุณต้องใส่แผ่นไดรเวอร์ลงไปในซีดีรอมด้วย
8. คลิกปุ่ม Next
9. รอสักครู่วินโดวส์ก็จะทำการค้นหาไดรเวอร์ เมื่อค้นหาพบแล้วก็ให้คลิกปุ่ม Next เพื่อทำขั้นตอนต่อไป
10. คลิกปุ่ม Finish แล้วรอสักครู่ วินโดวส์ก็จะทำการติดตั้งไดรเวอร์ให้ทันทีจากนั้นก็ให้บูตเครื่องใหม่ เมื่อเข้าสู่วินโดวส์อีกครั้ง ก็จะพบกับไอคอนลำโพงปรากฏอยู่บนทาส์กบาร์แล้ว
    แต่ถ้าหากว่าปัญหาเกิดจากไอคอนลำโพงได้ถูกกำหนดให้ไม่แสดงขึ้นมา วิธีแก้ไขก็ต้องเข้าไป กำหนดให้วินโดวส์แสดงไอคอนลำโพงขึ้นมา ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start จากนั้นคลิกเลือกตัวเลือก Settings>Control Panel
2. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Sounds and Multimedia
3. เลือกที่แท็ป Sounds
4. ในส่วนล่างของแท็บ Sounds ให้คลิกเลือกที่ตัวเลือก Show Volume…
5. คลิกปุ่ม OK เพียงเท่านี้ลำโพงก็จะปรากฏอยู่บนทาส์กบาร์แล้ว

    6 รหัสอันตรายที่ทำให้เครื่องคุณไม่มีเสียง
ข้อผิดพลาด “ MMSystem263. This is not a registered MCI device
- ข้อผิดพลาด “MIDI output error detected.”
- ข้อผิดพลาด “WAV sound playback error detected”
- ข้อผิดพลาด “No wave device that can play files in the current format is installed.”
- ข้อผิดพลาด “ You audio hardware connot play files like the current file.”
- ข้อผิดพลาด “MMSYSTEM296. The file cannot be played on the specified MCI device.”

    หากว่าใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่ดี ๆ ปรากฏว่าอยู่ ๆ ก็มีข้อความเหล่านี้ขึ้นมาก็ให้ทำใจได้เลยว่า ตอนนี้กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับเสี่ยงวินโดวส์โดยอุปกรณ์ 1 ใน 2 อย่างนี้เป็นตัวก่อปัญหาขึ้นมา Wave Audio device, CD Audio device ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นก็มีดังนี้ ตรวจสอบว่าการ์ดเสียงของคุณเปิดใช้งานหรือยัง
1. คลิกขวาที่ไอคอน My Computer แล้วเลือกคำสั่ง Properties
2. คลิกไปที่แท็ป Device Manager
3. คลิกเครื่องหมาย (+) ที่ตัวเลือก Sound, Video and Game Controllers
4. ดับเบิ้ลคลิกที่การ์ดเสียง
5. แล้วตรวจสอบว่าที่ตัวเลือก Disable in this hardware profile มีเครื่องหมายถูกอยู่หรือเปล่า ถ้ามีเครื่องหมายถูกหน้าตัว Disable in this hard ware profile อยู่ก็ให้คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือกนี้ออก
6. คลิกปุ่ม OK 2 ครั้ง แล้ววินโดวส์จะถามว่าต้องการที่บูตเครื่องใหม่หรือไม่ ก็ให้ทำการบูตเครื่องใหม่ เมื่อบูตเครื่องขึ้นมาก็ลองตรวจดูว่ามีเสียงออกมาหรือยัง

ตรวจสอบว่าการ์ดเสียงได้รับเลือกให้เป็นอุปกรณ์ที่ต้องการแล้วหรือยัง
1. ไปไหนส่วน Control Panel แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Sound and Multimedia เลือกที่แท็บ Audio ในส่วนของ Sound Playback และ Sound Recording ให้ตรวจสอบว่าเลือกการ์ดเสียงในกล่อง Preferred device แล้วหรือยัง ถ้ามีการเลือก (None) หรืออุปกรณ์อื่นในกล่อง preferred device ก็ให้เลือกเป็นรุ่นการ์ดเสียงที่ใช้แทน คลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า

ตรวจสอบว่า วินโดวส์ได้กำหนดค่าให้ใช้คุณลักษณะเสียงของการ์ดเสียงแล้วหรือยัง
1. เข้าไปในส่วน Multimedia ที่ Control Panel แล้วคลิกที่แท็บ Devices คลิกเครื่องหมาย + หน้าตัวเลือก Audio Devices ดับเบิ้ลคลิกที่การ์ดเสียง จากนั้นตรวจสอบว่าได้คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก Use audio features on this device แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ได้เลือกก็ให้คลิกเลือกตัวเลือกนี้ เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม OK จนกระทั่งกลับไปยัง Control Panel ให้ปิดหน้าต่าง Control Panel แล้วทำการบู๊ตเครื่องใหม่

ตรวจสอบว่าคุณติดตั้งอุปกรณ์ Wave Audio แล้วหรือยัง
1. ให้เข้าไปที่ส่วน Multimedia ใน Control Panel แล้วคลิกที่แท็บ Devices คลิกเครื่องหมาย + หน้าตัวเลือก Media Control Devices ดูให้แน่ใจว่าได้ติดตั้ง Wave Audio Device (Media Control) หรือยังถ้าหากว่ามีการติตตั้งแล้วก็ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Wave Audio Device (Media Control) ดูให้แน่ใจว่าได้เลือกตัวเลือก Use this Media Control device แล้วถ้ายังก็ให้คลิกเลือก คลิกปุ่ม OK
   แต่ถ้ายังไม่ได้ติดตั้ง Wave Audio Device (Media Control) ก็ให้กลับไปหน้า Control Panel ก่อนแล้วให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Add New Hardware คลิกปุ่ม Next ไปเรื่อย ๆ วินโดวส์ ก็จะถามว่าต้องการที่จะให้วินโดวส์ ทำการหาอุปกรณ์ให้โดยอัตโนมัติหรือไม่ ให้เลือกตัวเลือก No. I want to select….. คลิกปุ่ม Next เพื่อทำขั้นตอนต่อไป
   ภายใต้ส่วนของ Hardware types ให้คลิกเลือกตัวเลือก Sound, Video and Game Controllers คลิกปุ่ม Next เพื่อทำขั้นตอนต่อไป ในส่วนของ Manufacturers ให้เลือกตัวเลือก Microsoft MCI แล้วให้คลิกเลือกตัวเลือก Wave Audio Device (Media Control) ในส่วนของ Models คลิกปุ่ม Next ต่อมาคลิกปุ่ม Finish
   ถ้าได้รับแจ้งให้ใส่ซีดีรอมติดตั้งโปรแกรมวินโดวส์ ก็ให้ใส่แผ่นติดตั้งลงไป แล้วคลิกปุ่ม OK เลือกไปที่โฟลเดอร์วินโดวส์ที่อยู่ในแผ่นซีดีรอม จากนั้นก็คลิกปุ่ม OK สุดท้ายวินโดวส์ก็จะทำการติดตั้งไฟล์ เมื่อติดตั้งเสร็จวินโดวส์จะให้ทำการบู๊ตเครื่องใหม่ ก็ให้คลิกปุ่ม Yes ได้ทันที เมื่อเข้าวินโดวส์อีกครั้งก็ให้ลองตรวจสอบดูว่า ปัญหาแก้ไขได้แล้วหรือยัง

ตรวจสอบว่าคุณติดตั้งอุปกรณ์เสียงซีดีแล้วหรือยัง
1. ขั้นแรกให้เข้าไปในส่วน Multimedia ของ Control Panel แล้วคลิกแท็บ Devices คลิกเครื่องหมาย + หน้าตัวเลือก Media Control Devices
    ดูให้แน่ใจว่าการแสดง CD Audio Device (Media Control) ในรายการแล้วหรือยัง ถ้ามีการแสดงอุปกรณ์นี้ในรายการแล้ว ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ตัวเลือก CD Audio Device (Media Control) ดูให้แน่ใจว่าได้เลือก Use this Media Control dอvice แล้วหรือยัง
    ถ้ายังก็ให้คลิกเลือกตัวเลือก Use this Media Control device จากนั้นคลิกปุ่ม OK จนกระทั่งกลับเข้าสู่ส่วนของ Control Panel อีกครั้ง ก็ให้คุณลองทดสอบดูว่าปัญหาได้รับการแก้ไขแล้วหรือยัง
    ในกรณีที่ไม่มีการแสดงอุปกรณ์ CD Audio Device (Media Control) นี้ในรายการ ก็ให้ติดตั้งอุปกรณ์นี้ ในส่วนของ Models ก็ให้เลือกตัวเลือก CD Audio Device (Media Control) แทนเท่านั้นเองครับ
    วิธีแก้ไขภาพกระตุกเมื่อชมภาพยนตร์
    ในการชมภาพยนตร์นั้นหากว่าอัตราการรีเฟรซภาพ (การกะพริบของหน้าจอ) ไม่เร็วภาพที่ออกมาก็จะมีอาการกระตุก ๆ แต่อาการกระตุกก็อาจเกิดจากเครื่องเล่นซีดีเก่าเกินไปหรือแผ่นที่ดูนั้นอาจ ไม่ดีก็ได้ ซึ่งหากว่ามีการรีเฟรซแล้วอาการกระตุกยังไม่หาย ก็ให้ตรวจสอบจากจุดนี้ด้วยโดยขั้นตอนการปรับอัตราการรีเฟรซของภาพให้เร็ว ขึ้นก็สามารถทำได้ดังนี้
1. คลิกขวาบนพื้นที่ว่าง ๆ ของเดสก์ทอป แล้วเลือกไปที่คำสั่ง Properties
2. คลิกไปที่แท็ป Settings
3. เลือกสีในส่วนของ Color เป็น 256 Color
4. เลือกความละเอียดในส่วนของ Screen ไปที่ 640 by 480 pixels
5. คลิกปุ่ม Ok เพื่อทำการบันทึกค่า เพียงเท่านี้ก็จะทำให้อัตราการรีเฟรซของภาพเร็วขึ้นแล้วครับ
   วิธีการปรับแต่งไมโครโฟน
ในการปรับแต่งไมโครโฟนนั้นสามารถปรับแต่ได้ในส่วนของ Sound ที่อยู่ใน Control Panel โดยเมื่อทำการเสียบไมโครโฟนลงไปในซาวน์การ์ดแล้วก็สามารถทำงานได้ทันที แต่ในบางครั้งเราอาจจะไปปิดเสียงของไมโครโฟนไว้ ผลที่ตามมาเมื่อพูดใส่โมโครโฟนก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น (ทำให้หลายคนคิดไปว่าไมโครโฟนเสียแน่ ๆ ) ซึ่งขั้นตอนในการใช้ไมค์นั้นสามารถทำได้ดังนี้
1. ดับเบิ้ลคลิกไอคอนรูปลำโพงข้างล่างทางซ้ายมือของจอภาพ
2. คลิกเมนูคำสั่ง Option>Properties
3. จะพบตัวเลือกให้เลือกอยู่ 2 ตัวเลือกคือ
- Playback
แสดงรายละเอียดของเสียที่จะออกมา
- Recording
แสดงรายละเอียดของการปรับรายละเอียดของการอัดเสียง ก็ให้เลือกที่ตัวเลือกแรก
4. คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก Microphone ในส่วนของ Show all…
5. คลิกปุ่ม OK
6. เพียงเท่านี้ก็สามารถปรับเสียงดัง-เบาได้แล้ว โดยการเลื่อนตัวปรับระดับเสียงในส่วนของ Microphone
7. หากว่าต้องการปรับรายละเอียดเพิ่มเติมของไมโครโฟน ก็ให้คลิกปุ่ม Advanced
8. ซึ่งเราสามารถปรับเสียงสูง (Treble) เสียงต่ำ (Bass) ได้ในส่วนของ Tone Controls
9. เมื่อทำการปรับแต่งจนพอใจแล้ว ก็ให้คลิกปุ่ม Close เท่านี้ก็สามารถใช้งานไมโครโฟนได้แล้วครับ 


ไขปัญหาอุปกรณ์ทำงานผิดพลาด
    ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น
     จริงแล้วสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้นนั้นหลายครั้งมักเกิดจากความผิดพลาดทางด้านซอฟต์แวร์ ส่วนสาเหตุทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นส่วนใหญ่มักเกิดจากฮาร์ดดิสก์มีแบดเซ็กเตอร์เป็นจำนวนมาก หรือเกิด แบดเซ็กเตอร์บริเวณพื้นที่ที่เก็บข้อมูลสำคัญของฮาร์ดดิสก์จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถบูตขึ้นมาได้ โดยจะแสดงอาการเงียบไปเฉยๆ หลังจากที่บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว หรืออาจฟ้องขึ้นมาว่า No Boot Device หรือ Disk Boot failure Please insert system disk and please anykey to continue
     สำหรับวิธีแก้ไขนั้น ให้เราทำการตรวจสอบแบดเซ็กเตอร์โดยอาจบูตเครื่องขึ้นมาด้วยแผ่นบูตแล้วใช้ คำสั่ง Scandisk หรือโปรแกรม Norton Disk Doctor เวอร์ชั่นดอสตรวจสอบแบ็ดเซ็กเตอร์และซ่อมแซมดูก่อน หากมีแบดเซ็กเตอร์มากก็อาจไม่หาย หนทางสุดท้ายคือทำ Fdisk แบ่งพาร์ทิชั่นใหม่แล้วพยายามกันส่วนที่เป็นแบดเซ็กเตอร์ออกไป
     บางครั้งสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น นิ่งเงียบไปเฉยๆ อาจเกิดจากแผ่น PCB ( แผ่นวงจรด้านล่างของฮาร์ดดิสก์ ) เกิดการช็อต วิธีแก้ไขคือให้นำฮาร์ดดิสก์รุ่นเดียวกัน สเป็คเหมือนกันมาถอดเปลี่ยนแผ่น PCB ก็จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ช็อตกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม
     หากต้องการกู้ข้อมูลที่สำคัญกลับมาไม่ควรใช้คำสั่ง Fdisk เด็ดขาดเพราะจะทำให้ข้อมูลที่อยู่ภายในฮาร์ดดิสก์ให้เกลี้ยงไปหมด ในที่นี้แนะนำให้ใช้โปรแกรม Spinrite ในการกู้ข้อมูลสำคัญๆ ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อกู้ข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์โดย เฉพาะ
    ปัญหาที่เกิดจากซีพียู     ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูงภายในมีรายละเอียด ซับซ้อนโดยจะมีทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันนับล้านๆ ตัวทำให้หากมีปัญหาที่เกิดจากซีพียูแล้วโอกาสที่จะซ่อมแซมกลับคืนให้เป็น เหมือนเดิมนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ช่างคอมพิวเตอร์เมื่อพบสาเหตุอาการเสียที่เกิดจากซีพียูแล้วก็ต้องเปลี่ยน ตัวใหม่สถานเดียว
    ปัญหาที่เกิดขึ้นกับซีพียูส่วนใหญ่แล้วจะมีเพียง 2 อาการที่ช่างคอมพิวเตอร์พบได้บ่อยๆ อาการแรกคือ ทำให้เครื่องแฮงค์เป็นประจำ และอาการที่สองคือวูบหายไปเฉยๆ โดยที่ทุกอย่างปกติ เช่นมีไฟเข้า พัดลมหมุน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนหน้าจอ สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากซีพียูมีความร้อนมากเกินไปจนเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็เดี้ยงไปแบบไม่บอกไม่กล่าว เลย สำหรับวิธีแก้ปัญหาก็คือต้องส่งเคลมสถานเดียว
    RAM หายไปไหน Spec 128 MB. ทำไม Windows บอกว่ามีแรมแค่ 96MB. เอง
อาการของ RAM หายไปดื้อ ๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board นะครับ ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหนหรอก เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA ครับและขนาดที่จะ โดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M, 8M ไปจนถึง 128M. ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS ครับ
    "Insert System Disk and Press Enter"
อยู่ ๆ ผมไม่สามารถบูตเข้าสู่วินโดวส์ได้ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น โดยจะขึ้นข้อความว่า "Insert System Disk and Press Enter" ทั้ง ๆ ที่ผมไม่ได้ทำการปรับแต่งวินโดวส์ เลย
ปัญหานี้เกิดจากบู๊ตเครื่องโดยมีแผ่นดิสก์ที่ไม่มี OS หรือระบบปฎิบัติการอยู่ในไดรว์ A ซึ่งขั้นตอนแก้ปัญหาก็ให้เอา แผ่นไดรว์ A ออกจากนั้นก็กดปุ่ม Enter เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าวินโดวส์ได้แล้ว
    ไดรว์ซีดีรอม อ่านแผ่นได้บ้างไม่ได้บ้าง หาแผ่นไม่เจอ แก้ปัญหาอย่างไร
ปัญหานี้มักจะไม่เกิดกับไดรว์ซีดีรอมตัวใหม่ ๆ ครับ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับไดรว์ซีดีรอมที่มีการใช้งาน มานานแล้ว หรือประมาณ 1 ปีขึ้นไป และสาเหตุที่เห็นกันบ่อยก็คือหัวอ่านสกปรก ส่วนใหญ่จะเป็นพวกฝุ่น เข้าไปกับแผ่นซีดี แล้วเราก็นำมันเข้าไปอ่านในไดรว์ ฝุ่นก็เลยเข้าไปติดที่หัวอ่าน พอสะสมมาก ๆ เข้าก็เลย ทำให้เกิด อาการดังกล่าว อ่านแผ่นไม่ได้บ้างละ หาแผ่นไม่เจอบ้างละ วิธีการแก้ไขก็คือทำความสะอาดหัวอ่าน โดยใช้แผ่นซีดีที่ไว้สำหรับทำความสะอาดหัวอ่าน ที่มีขายอยู่ตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไปมาใช้ รับรองอาการดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน
    ปัญหาของซีดีออดิโอ
ถ้าคุณเล่นซีดีออดิโอใน CD Writer แล้ว Windows Media หรือ CD Playar แสดงข้อความ "Please insert an audio compact disk" หรือ Data or no disk loaded อาจมีสาเหตุมาจากไดรเวอร์ วิธีแก้คือ ให้เปิด Control Panel เลือก Sound &Multimedia คลิก Devices ดับเบิลคลิก ที่ Media Control Devices และ CD Audio Devices (Media Control) คลิก Remove และ Yes คลิก OK เพื่อปิด หน้าต่างทั้งหมดและบูตเครื่องใหม่
    อะไรคือสาเหตุ ที่ทำให้แผ่น CD-ROM เล่นเพลงจนแผ่นแตก
กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้วครับ เรื่องไดรว์ CD-ROM ทำแผ่นแตก ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะไดรว์ ที่ผลิตในปัจจุบันมีความเร็วสูง ทำให้เมื่ออ่านแผ่นที่มีคุณภาพต่ำหรือแผ่นที่มีรอยขีดข่วนลึก ๆ ก็ทำให้เกิดสะดุดเป็นผล ทำให้แผ่นแตก ซึ่งปัญหานี้เราจะไม่พบในไดรว์รุ่นเก่า ๆ เลย ทางแก้ก็คือหลีกเลี่ยงการใช้แผ่นที่มีคุณภาพต่ำ หรือแผ่นที่เป็นรอยมาก ๆ
    แบตเตอรี่เสื่อมทำอะไรกับเครื่องคุณได้บ้าง
บางครั้งเมื่อเราเปิดเครื่องคอมฯ ขึ้นมาปรากฎว่าเจอกับข้อความ "CMOS CHECKSUM ERROR" หรือไม่เมื่อเราใช้เครื่องคอมฯ ไปเรื่อย ๆ จะสังเกตุเห็นว่านาฬิกาของเครื่องดูเหมือนจะเดินช้าลงนั่น แสดงให้เห็นว่าแบตเตอรี่ที่อยู่ในเมนบอร์ดของเรากำลังจะหมด และถ้ายังคงใช้งานต่อไปโดยไม่หา แบตเตอรี่มาเปลี่ยนก็จะทำให้ค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ใน BIOS SETUP หายไปได้ อย่างเช่นค่าของ ฮาร์ดดิสก์ว่า เป็นชนิดอะไร ทำให้เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ เราจะต้องตั้งค่าเหล่านี้ใหม่ทุกครั้ง
    "Bad or Missing Interpreter" มันคืออะไร
ปัญหาลักษณะนี้จะเกิดจากไฟล์ Command.com นั้นเกิดความเสียหาย หรือถูกลบทิ้งไป ซึ่งทางแก้ไขก็คือให้คุณทำการ ก๊อปปี้ไฟล์ Command.com จากเครื่องอื่น ซึ่งต้องเป็นวินโดวส์รุ่นเดียวกัน หรือจากแผ่น Start Up ดิสก์ที่สร้างจากเครื่อง คุณก็ได้ โดยเมื่อก๊อปปี้ไฟล์ได้แล้วก็ให้ใส่แผ่นในไดรว์ A แล้วเข้าไปที่ A : Promt จากนั้นก็พิมพ์คำสั่ง copy a:\command.com c: เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานคอมได้เป็นปกติ
    "8042 GATE-A20 Error" มันคืออะไร
หากว่าพบข้อความ 8042 GATE-A20 Error ปรากฎขึ้นมา นั่นแสดงว่าชิปที่ควบคุมการทำงานของแป้นพิมพ์บนเมนบอร์ด มีปัญหาหรืออาจเกิดจากปลั๊กเสียบไม่แน่น ให้คุณทำการปิดเครื่องแล้วลองขยับปลั๊กให้แน่นขึ้นดู หากยังไม่หายนั้นแสดง ว่าเมนบอร์ดของคุณมีปัญหาแล้ว ควรที่จะยกไปให้ซ่อมหรือไปเปลี่ยนกับทางร้านที่คุณซื้อมา (ถ้ายังมีประกัน)
    ทำไมเสียงไม่สามารถแสดงออกมาพร้อมกัน 2 เสียงได้
โดยทั่วไปแล้วการ์ดเสียงส่วนใหญ่จะสามารถทำได้อยู่ ปัญหาน่าจะเกิดมาจากการ์ดเสียงหรือว่าโปรแกรม DirectX ซึ่งการแก้ไขก็ให้คุณลองนำการ์ด เสียงตัวที่คุณใช้แล้วมีปัญหา ไปลองกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ดู หรือลองอัพเดต โปรแกรม DirectX ให้สูงกว่าเวอร์ชั่น 6 ถ้าหากไม่หายแสดงว่าการ์ดเสียงของคุณมีปัญหา แล้วละครับ 
 
 
ไขปัญหาจุกจิกในการแสดงผล
    ใช้การ์ดจอของ TNT แล้วเมื่อพิมพ์ข้อความต่าง ๆ สระบนล่างไม่ยอมขึ้นมาทันที
ต้องพิมพ์ตัวต่อไปก่อนจึงจะเห็น เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ๆ กับผู้ที่ใช้การ์ดจอของ TNT ครับให้ลองหา Driver รุ่นใหม่ ๆ จากเวปไซต์ของผู้ผลิตการ์ดจอมาใช้ จะแก้ไขได้หรือใช้ Driver ของ Detonator Version 3.65 หรือใหม่กว่านี้ขึ้นไป หาได้จาก http://www.nvidia.com
    ปัญหาสีเพี้ยนของหน้าจอแก้ปัญหาอย่างไร
ปัญหาสีเพี้ยนลักษณะนี้อาจเกิดจากคลื่นแม่เหล็กที่วางอยู่ใกล้ ( ตู้เย็น,เตาอบไมโครเวฟ,ลำโพง ) ถาพที่ปรากฎ จึงมีสีเพี้ยนไป ซึ่งหากว่ามีการนำลำโพงที่ไม่มี Shield ป้องกันคลื่นแม่เหล็ก ไปวางไว้ข้างจอคอมพิวเตอร์ ก็อาจพบว่าภาพบนจอคอมพิวเตอร์แสดงสีเพี้ยน ๆ เพราะว่าในตัวของลำโพงจะประกอบไปด้วยคลื่นแม่เหล็กแรงสูงอยู่ภายใน จึงทำให้มอนิเตอร์ที่มีการใช้สนามแม่เหล็กในการควบคุมการยิงเม็ดสี ให้ตกกระทบ ตรงตำแหน่งบนหน้าจออย่างถูกต้อง เกิดอาการยิงผิดยิงถูก ภาพที่ออกมาจึงมีสี เพี้ยนไป วิธีการแก้ไขก็เพียงวางลำโพงให้ห่างจากจอคอมพิวเตอร์พอประมาณ หรือหาลำโพงที่ Shield ป้องกันคลื่นแม่เหล็กมาใช้ ภาพสีก็จะหายไปครับ แต่ถ้าอาการยัง ไม่ดีขึ้น ควรให้ช่างตรวจเช็คดูดีกว่า เพราะบางทีอาจมีปัญหาที่จอมอนิเตอร์เอง
    เพราะเหตุใดจอจึงดับโดยไร้สาเหต
ใช้ Windows 98 ตอนบูตเครื่องขึ้นมาไม่มีปัญหา แต่ถ้าทิ้งเครื่องไว้สักประมาณ 5 นาทีหรือขณะกำลังทำงาน อยู่ จอก็ดับไปเฉย ๆ แต่เครื่องทำงานอยู่ ถ้าไปกดปุ่ม ESC ก็จะกลับมาเหมือนเดิม สาเหตุที่เป็นอย่างนั้นก็คือ เกิดจากการตั้งค่า ในส่วน Power Management ( การประหยัดในวินโดวส์ เมื่อไม่ได้ทำงานบนคอมพิวเตอร์เป็นเวาลานาน ๆ ) ของวินโดวส์ ซึ่งขั้นตอนการแก้ไขก็ทำตามขั้นตอนดังนี้
1 เข้าไปในส่วนของ Display Properties คลิกแท็บ Screen Saver
2 คลิกปุ่ม Setting
3 คลิกที่แท็บ Power Schemes
4 เลือกค่าต่าง ๆ ในส่วนของ Setting for Always.... ให้เป็น Never ให้หมด และคลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า
5 คลิกปุ่ม OK อีกครั้งเพื่อปิด หน้าต่าง Display Propertie เพียงแค่นี้ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว
    ชัตดาวน์แล้วปรากฎข้อความ "Windows protect error
ปัญหานี้มักจะเกิดมาจากไดรเวอร์ของอุปกรณ์ฮาร์แวร์ประเภทการ์ดจอ และเมนบอร์ดเสียเป็นส่วนใหญ่ซึ่งการแก้ไขทั่ว ไปก็ให้เข้าไปดาวน์โหลดไดรเวอร์ ตัวใหม่ ๆ จากเว็บไซต์ของผู้ผลิต มาแทนไดรเวอร์ ตัวเก่า ส่วนคนที่ใช้การ์ดจอของ Nvidia และใช้ไดรเวอร์ Detemator 3 (6.xx) ก็จะเกิดปัญหานี้ด้วย เพราะว่า Detemator 3 (6.xx) จะไม่ทำการเคลียร์แรม เมื่อเลิกใช้ พอทำการชัตดาวน์วินโดวส์มันจะจัดการกับแรมที่ค้างไม่ได้ จึงขึ้นข้อความ Protection Error ทางแก้ไขนั้นให้ทำการ ดาวน์โหลดไดรเวอร์การ์ดจอของ Nvidia เวอร์ชั่น 7.xx มาใช้งาน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ http://www.nvidia.com แต่ไดรเวอร์ตัวนี้ก้ยังมีปัญหาในการเล่น Mode 3D วิธีแก้ก็ให้คุณทำการรีสตาร์ทใหม่ 1 ครั้ง แล้วค่อยชัตดาวน์ครับ
    จอภาพสั่น ๆ หรือกระพริบอยู่ตลอดเวลา ทำงานแล้วรู้สึกปวดตาจะแก้ปัญหาอย่างไรดี ??
ปัญหานี้เกิดจากคุณไม่ได้เข้าไปปรับอัตรา Refresh Rate ของจอภาพใน Windows ครับ หรือถ้าปรับแล้วก็ยังสั่นอยู่อีก ให้ลองดูครับว่ามีคลื่นสนามแม่เหล็ก มากวนจอภาพของเราหรือเปล่า เช่น จอภาพที่วางใกล้ ๆ กัน หรือจะเป็นคลื่นจากลำโพงที่วางไว้ใกล้กับจอภาพ อัตรา Refresh สูง ๆ นั้นจะช่วยให้ภาพที่แสดงออกมานั้นนิ่งดูสบายตามากขึ้น สำหรับจอภาพขนาด 15" ส่วนใหญ่จะปรับอัตรา Refresh Rate อยู่ที่ 75-85 Hz ซึ่งการปรับอัตรา Refresh Rate นี้จะสัมพันธ์กับความละเอียดของจอด้วย เช่น 800x600 @ 85Hz , 1024x768 @ 75Hz ฯลฯ ขั้นตอนการปรับอัตรา Refresh Rate ทำได้ดังนี้
- คลิกขวาที่ Desktop เลือก Properties
- คลิกที่แท็บ Settings และคลิกที่ Advanced
- คลิกที่แท็บ Adapter ที่ Refresh Rate สามารถปรับอัตรา Refresh Rate ได้ตามต้องการ
- คลิก ปุ่ม OK
- คลิกปุ่ม YES เพื่อยืนยันอีกครั้ง เพียงแค่นี้ก็สามารถแก้ปัญหาได้แล้วละครับ
   หากไม่มีส่วนให้ปรับค่า Refresh Rate ทำอย่างไร
เป็นปัญหาพอสมควร เพราะหลังจากการที่ได้ติดตั้งไดรเวอร์ต่าง ๆ ครบแล้วครั้นจะมาทำการปรับแต่งอัตรา Refresh Rate แต่ปรากฎว่าไม่สามารถทำได้เลย เพราะไม่มีช่องให้ปรับแต่ง ซึ่งหากว่าพบปัณหาแบบนี้ก็ต้อง ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการปรับแต่งนั่นก็คือ โปรแกรม Power Strip โดยสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ Download.com เมื่อทำการ ดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จแล้ว ตัวโปรแกรมก็จะฝังตัวอยู่ที่ทาส์บาร์ใกล้ ๆ กับนาฬิกาด้านขวาล่าง ซึ่งขั้นตอนในการปรับแต่งจากโปรแกรม Power Strip มีดังนี้
1 คลิกขวาที่ไอคอน Power Strip
2 เลือกไปที่ตัวเลือก Desk top
3 ปรับค่ารีเฟรชในส่วนของ Refresh Rate ซึ่งควรปรับอยู่ที่ 70-85 Hz
4 เมื่อปรับแล้วก็ให้ คลิกปุ่ม OK เท่านี้ก็สามารถปรับอัตรารีเฟรซได้แล้วครับ  
 
การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเมนบอร์ด
อาการเสียที่เกิดจากเมนบอร์ดนั้นเป็นปัญหาที่ค่อนข้างแก้ไขยาก และเกิดจากหลายสาเหตุ เนื่องจากมีอุปกรณ์หลายตัวเข้ามาติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด ทำให้เมื่อเมนบอร์ดมีปัญหามักหาสาเหตุไม่ค่อยเจอ ส่วนใหญ่จะมองไปที่อุปกรณ์ตัวอื่นมากกว่า เพราะจะว่าไปแล้วโอกาสที่อาการเสียจะเกิดจากเมนบอร์ดนั้น มีค่อนข้างน้อยทำให้อาจนึกไม่ถึง
สำหรับอาการเสียของเมนบอร์ดจะคล้ายกับอาการเสียของอุปกรณ์ตัวอื่นที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด เช่นเครื่องบูตไม่ขึ้น , จอภาพมืด ส่วนใหญ่จะคิดว่าสาเหตุน่าจะเกิดมาจากจอภาพและฮาร์ดดิสก์มากกว่า หรืออาการเครื่องแฮงค์บ่อย หลายคนมักวิเคราะห์ว่าน่าจะเกิดจากแรม หรือไม่ก็ ซีพียู แต่แท้จริงแล้ว หากเมนบอร์ดเสีย เครื่องก็ไม่สามารถบูตได้ หรือเกิดอาการแฮงค์บ่อยได้เหมือนกัน


แนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาเกิดจากเมนบอร์ดมีดังนี้
- ตรวจสอบการเชื่อมต่อของขั้วต่อต่าง ๆ บนเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แน่นและถูกต้อง เช่นขั้วต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์ , ขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายกับกับเมนบอร์ด เป็นต้น
- ตรวจสอบการติดตั้งของอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเมนบอร์ดให้ถูกต้อง เช่น แรม หรือการ์ดต่าง ๆ บนเมนบอร์ดให้แน่น
- ตรวจสอบการระบายความร้อนบนอุปกรณ์เมนบอร์ดเช่น พัดลมชิพเซ็ท พัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย หรือพัดลมเสริมตัวอื่น ๆ ว่ายังทำงานอยู่ดีหรือไม่
- ตรวจสอบการเซ็ตจัมเปอร์และดิปสวิตซ์บนเมนบอร์ดว่ากำหนดค่าต่าง ๆ ถูกต้องหรือ ส่วนมากมักจะเป็นเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ
- ตรวจสอบการกำหนดค่าในไบออสว่ามีการกำหนดค่าถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่
- ตรวจสอบถ่านแบตเตอรี่บนเมนบอร์ดว่าหมดแล้วหรือยังถ้าหมดให้เปลี่ยนถ่านใหม่
- หากเมนบอร์ดถามหาพาสเวิร์ดแล้วจำไม่ได้ให้ทำการเคลียร์ไบออสโดยถอดจัมเปอร์ไปเสียบที่ขา Clear Bios (ดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบ) หรือจะถอดถ่านแบตเตอรี่ออกมาทิ้งไว้สักพักแล้วใส่เข่าไปใหม่ก็ได้
- ตรวจวสอบอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาติดตั้งว่าเข้ากันได้กับเมนบอร์ดหรือไม่ บางครั้งหากผู้ใช้ซื้ออุปกรณ์รุ่นใหม่ ๆ มาเมนบอร์ดตัวเดิมจะไม่สามารถรองรับได้ ให้ทำการอัพเดทไบออสเพื่อให้เมนบอร์ดมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถรู้จักกับอุปกรณ์ ใหม่ ๆ ได้

หากได้ทำการตรวจสอบขั้นตอนเหล่านี้แล้วยังไม่พบปัญหาก็อาจเป็นไปได้ว่า เมนบอร์ดเสีย ให้เช็คดูว่ามีกระแสไฟลัดวงจร หรือเมนบอร์ดช๊อตหรือไม่ โดยตรวจสอบแท่นรองน็อตหรือมีวัตถุแปลกปลอมอย่างอื่นที่สามารถนำไฟฟ้าได้แอบแฝงอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ เมื่อผู้ใช้ได้ติดตั้งเมนบอร์ดแล้ว ลืมน๊อตตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดเมื่อมีกระแสไฟจ่ายเข้ามาก็อาจทำให้เมนบอร์ดพังได้ เพราะน๊อตตัวเล็ก ๆ จะเป็นตัวนำกระแสไฟได้เป็นอย่างดี

สรุป การที่จะรู้ว่าเมนบอร์ดของคุณเสียเปล่าต้องมีการทดสอบคือนำเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดสอบครับ ถ้าไม่มีคงจะต้องถึงมือช่างแล้วละครับ
 
 
เทคนิควิเคราะห์อาการเสียจากไบออส Award
     สำหรับเมนบอร์ดที่ใช้ไบออสยี่ห้อ Award นี้สัญญาณ เสียง Beep Code จะฟังค่อนข้างง่ายไม่ซับซ้อนเหมือนไบออสยี่ห้ออื่น โดยเสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียง " ปี๊บ" สั้นและยาวสลับกันซึ่งเราจะสังเกตอาการเสียได้จากจำนวนครั้งในการส่งเสียง ร้องเตือน โดยมีจังหวะดังนี้

จังหวะเสียง
ความหมาย
เสียงดัง 1 ครั้ง
แสดงว่าขั้นตอนการบูตเครื่องหรือขั้นตอน Post เป็นปกติ
เสียงดัง 2 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทำให้บูตเครื่องไม่ผ่าน ควรตรวจสอบแรม
เสียงดัง 3 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทำให้บูตเครื่องไม่ผ่าน ควรตรวจสอบแรม
เสียงดังต่อเนื่อง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแหล่งจ่ายไฟ เช่น เพาเวอร์ซัพพลาย หรือเมนบอร์ดอาจมีปัญหา ให้ตรวจสอบ เพาเวอร์ซัพพลาย และเมนบอร์ด
เสียงดังถี่ ๆ
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนเมนบอร์ดให้ตรวจสอบสายสัญญาณต่าง ๆ และตัวเมนบอร์ด
เสียงดัง 6 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของคีย์บอร์ด ให้ตรวจสอบคีย์บอร์ด
เสียงดัง 7 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของซีพียู อาจต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่
เสียงดัง 8 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์ดแสดงผล ( VGA ) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่าเสียบแน่นดีหรือไม่ หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
เสียงดังยาว 1 สั้น 2
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์ดแสดงผล ( VGA ) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่าเสียบแน่นดีหรือไม่ หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
เสียงดัง 9 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของไบออส อาจต้องเปลี่ยนไบออสใหม่
เสียงดัง 10 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการเขียน CMOS อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
เสียงดัง 11 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนในส่วนของหน่วยความจำแคช ควรตรวจสอบแคชภายนอกบนเมนบอร์ด
ไม่มีเสียง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของ เพาเวอร์ซัพพลาย, เมนบอร์ด หรือซีพียู รวมถึงสายสัญญาณ และสายไฟต่าง ๆ


เทคนิควิเคราะห์อาการเสียจากไบออส AMI
    สำหรับจังหวะสัญญาณ Beep Code ของไบออส ยี่ห้อ AMI นั้นค่อนข้างมีส่วนคล้ายกับของไบออสยี่ห้อ Award อยู่พอสมควร เพราะจังหวะ สัญญาณนั้นฟังได้ง่ายไม่ซับซ้อนโดยแต่ละสัญญาณเสียงที่เป็นปัญหาหลัก ๆ จะมีความหมายดังนี้

จังหวะเสียง
ความหมาย
เสียงดัง 1 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
เสียงดัง 2 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทำให้บูตเครื่องไม่ผ่าน ควรตรวจสอบแรม
เสียงดัง 3 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทำให้บูตเครื่องไม่ผ่าน ควรตรวจสอบแรม
เสียงดัง 4ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิพ Timmer อาจต้องเปลี่ยนชิพหรือเมนบอร์ดใหม่
เสียงดัง 5 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของซีพียู อาจต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่
เสียงดัง 6 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิพควบคุมคีย์บอร์ดเสีย หรือไม่อาจเป็นที่ตัวคีย์บอร์ดเอง อาจต้องเปลี่ยนชิพ,เมนบอร์ด หรือคีย์บอร์ดใหม่
เสียงดัง 7 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนในส่วนของซีพียู อจต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่
เสียงดัง 8 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์ดแสดงผล ( VGA ) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่าเสียบแน่นดีหรือไม่ หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
เสียงดัง 9 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของไบออส อาจต้องเปลี่ยนไบออสใหม่
เสียงดัง 10 ครั้ง
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการเขียน CMOS อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
เสียงดัง 11 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนในส่วนของหน่วยความจำแคช ควรตรวจสอบแคชภายนอกบนเมนบอร์ด
เสียงดังสั้น ๆ 2 ครั้ง เสียงดังยาว 1 สั้น 2 แสดงว่ามีปัญหาในขั้นตอนการ Post ที่มีบางขั้นตอนไม่ผ่าน แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์แสดงผล ( VGA ) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่าเสียบแน่นดีหรือไม่ หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
เสียงดังยาว ๆ 1 ครั้ง แสดงว่าขั้นตอนการบูตเครื่องหรือขั้นตอนการ Post เป็นปกติ

เทคนิควิเคราะห์อาการเสียจากไบออส Phoenix
    สำหรับเมนบอร์ดที่ใช้ ไบออสไบออส Phoenix นี้สัญญาณเสียง Beep Code จะมีรายละเอียดมากและค่อนข้างฟังยากทีเดียว ต้องอาศัยความชำนาญ เล็กน้อย โดยสัญญาณเสียงจะแบ่งออกเป็น 3 จังหวะในแต่ละจังหวะอาจมีเสียงร้องไม่เหมือนกัน (หากนับไม่ทันควรรีสตาร์ทเครื่องแล้วเริ่มนับใหม่อีกครั้ง ) โดยแต่ละสัญญาณเสียงที่เป็นปัญหาหลัก ๆ จะมีความหมายดังนี้

จังหวะเสียง
ความหมาย
1-1-3
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการอ่านค่า CMOS อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
1-1-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของไบออส อาจต้องเปลี่ยนไบออสใหม่
1-2-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิพ Timer ซึ่งเป็นตัวตั้งเวลาเสียต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
1-2-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
1-2-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
1-3-1
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด เนื่องจากรีเฟรชค่าแรมไม่ผ่านอาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
1-3-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม ซึ่งอาจมีปัญหาในส่วนแอดเดรสแรก 64 KB อาจต้องเปลี่ยนแรมใหม่
1-3-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม หรือเมนบอร์ดเสีย ให้ตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งสองนี้
1-4-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม หรือเมนบอร์ดเสีย ให้ตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งสองนี้
1-4-2
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรมบางแถว ให้ตรวจสอบแรมทุกแถวที่มีอาจต้องเปลี่ยนแรมใหม่
2-1-1,2-1-2,
2-1-3,2-1-4
แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม ซึ่งอาจมีปัญหาในส่วนแอดเดรสแรก 64 KB อาจต้องเปลี่ยนแรมใหม่
3-1-0 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิพบางตัวบนเมนบอร์ดเสีย อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
3-1-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ดเสีย ควรตรวจสอบเมนบอร์ด
3-1-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ดเสีย ควรตรวจสอบเมนบอร์ด
3-1-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของอินเตอร์รัพต์ที่ 2 เสีย
3-1-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของอินเตอร์รัพต์ที่ 1เสีย
3-2-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิปบางตัว บนเมนบอร์ด ทำงานผิดพลาด ควรตรวจสอบเมนบอร์ด
3-3-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการติดตั้งการ์ดแสดงผล ควรตรวจสอบว่าได้เสียบการ์ดลงบนสล๊อตแน่นหรือยัง
3-4-0 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการติดตั้งการ์ดแสดงผลเสีย อาจจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
3-4-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของสัญญาณจอภาพอาจมีปัญหา
3-4-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการติดตั้งการ์ดแสดงผล ควรตรวจสอบว่าได้เสียบการ์ดลงบนสล๊อตแน่นหรือยัง
4-2-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิพบางตัวบนเมนบอร์ดเสีย อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
4-2-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิปควบคุมการทำงานของเมนบอร์ดเสียหรือไม่ที่ตัวคีย์บอร์ดเอง ควรตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งสองอย่างนี้
4-2-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิปควบคุมการทำงานของเมนบอร์ดเสียหรือไม่ที่ตัวคีย์บอร์ดเอง ควรตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งสองอย่างนี้
4-2-4 แสดงว่ามีปัญหากับการ์ดบางตัวบนเมนบอร์ดหรือไม่ก็เมนบอร์ดเสีย ควรตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งสองอย่างนี้
4-3-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
4-3-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
4-3-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
4-3-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการตั้งวันและเวลา ควรตรวจสอบการตั้งวันและเวลาใหม่ อาจต้องเปลี่ยนแบเตอรี่หรือชิปไทม์เมอร์
4-4-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของ Serial Port อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
4-4-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของ Pararel Port อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
4-4-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของตัวคำณวนทางคณิตศาสตร์เสีย อาจต้องเปลี่ยนซีพียูหรือเมนบอร์ดใหม่

วิเคราะห์อาการเสียจากการ Post ของ Bios
นอกจากสัญญาณเสียง Beep Code ที่ไบออสจะคอยแจ้งให้เราทราบแล้ว หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในขั้นตอนการ POST หรือมีความผิดพลาดของอุปกรณ์ตัวใด แต่ในส่วนของภาคการแสดงผลยังสามารถใช้ได้ ไบออสจะรายงานข้อความผิดพลาดนั้นออกมา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจความหมายเพื่อจะได้สามารถแก้ไข ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ดังต่อไปนี้

ข้อความผิดพลาด
ความหมาย
8024 Gate-A20 Error เกิดความผิดพลาดที่สัญญาณควบคุม A20 ที่ควบคุมโดยชิพ 8049 ที่คีย์บอร์ดเสีย ควรเปลี่ยนเมนบอร์ด
Address time short เกิดความผิดพลาดในหน่วยความจำ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการเข้าถึงหน่วยความจำ ควรเปลี่ยนหน่วยความจำ
Cache Memory Bad. Do not Enable Cache หน่วยความจำแคชเสีย ควรปิดการทำงานในส่วนนี้
CMOS BATTERY HAS FAILED แบตเตอรี่ ที่จ่ายให้กับ CMOS หมดควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
C: Drive Error ไม่พบฮาร์ดดิสก์ ควรตรวจเช็คการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ และตั้งค่าไบออสใหม่
CMOS checkssum failure ข้อมูลที่เก็บภายใน CMOS ไม่ถูกต้อง อาจเกิดจากแบตเตอรี่หมด ควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ หากยังไม่หายอาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
CMOS system options not set CMOS เก็บข้อมูลไม่อยู่ อาจเกิดจากแบตเตอรี่อ่อน หมดควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ หรือเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
CMOS diskplay type mismatch
ค่าการแสดงผลไม่ตรงกับที่กำหนดในไบออส ควรกำหนดค่าการแสดงผลใหม่
CMOS memory size mismatch ขนาดของหน่วยความจำเปลี่ยนไปจากที่กำหนดในไบออส อาจเกิดจากหน่วยความจำ (แรม) บางส่วนเสีย ควรเปลี่ยนแรม
CMOS Time and Date Not Set ค่าวันและเวลาไม่ถูกต้อง อาจเกิดจาก RTC (Real Time Clock) เสียหรือกำหนดค่าไม่ถูกต้อง ควรกำหนดค่าใหม่
DiSK BOOT FAILURE INSERT SYSTEM DISK AND PRESS ENTER ไบออสไม่พบไดร์ฟที่สามารถบูตระบบปฎิบัติการได้ ให้เปลี่ยนไดร์ฟใหม่ (ส่วนใหญ่เกิดจากผู้ใช้ลืมแผ่นฟล็อบปี้ดิสก์ไว้ทำให้ไบออสไม่สามารถตรวจพบ)
DISK DRIVES OR TYPE MISMATCH ERROR-RUN กำหนดชนิดของดิสก์ไดร์ฟไม่ตรงกับอุปกรณ์ ควรกำหนดใหม่ให้ตรงกับอุปกรณ์ที่ติดตั้ง
iskette Boot Failure ไบออสไม่สามารถบูตระบบปฎิบัติการได้ อาจเกิดจากไดร์ฟหรือแผ่นดิสก์ไม่มีระบบปฎิบัติการอยู่
Disk configuration error ไบออสไม่รู้จักฮาร์ดดิสก์ อาจเกิดจากไบออสเวอร์ชันเก่เกินไป ควรอัพเดตไบออสใหม่
Disk drive 0 seek failure ไบออสตรวจสอบไม่พบฟล็อบปี้ไดร์ฟตามที่กำหนดไว้ ควรกำหนดค่าใหม่
Diskplay switch not proper ไบออสตรวจสอบไม่พบการ์ดแสดงผลและจอภาพตามที่กำหนดไว้ควรกำหนดค่าใหม่
DISPLAY TYPE HAS CHANGED SINCE LAST BOOT ไบออสตรวจสอบพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการ์ดแสดงผลนับจากการบูตเครื่องครั้งสุดท้าย หากบูตไม่ขึ้นควรกำหนดค่าหรือเปปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
DMA Error ตัวควบคุม DMA (Direct Memory Access) เสีย
DMA # 1 Error ตัวควบคุม DMA 1 (Direct Memory Access) เสีย
DMA # 2 Error ตัวควบคุม DMA 2 (Direct Memory Access) เสีย
ERROR INITIALIZNG HARD DRIVE CONTROLLER ไบออสไม่สามารถติดต่อกับตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ได้ อาจเกิดจากการตั้งค่าในไบออสไม่ถูกต้อง หรือการเชื่อมต่อไม่แน่น ควรตั้งค่าใหม่ หรือตรวจสอบการเชื่อมต่อใหม่
ERROR ENCOUNTERED INITIALIZNG HARD DRIVE ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถทำงานได้ อาจเกิดจากการตั้งค่าในไบออสไม่ถูกต้อง หรือการเชื่อมต่อไม่แน่น ควรตั้งค่าใหม่ หรือตรวจสอบการเชื่อมต่อใหม่
FDD controller failure ไบออสไม่สามารถติดต่อกับตัวควบคุมฟล็อบปี้ดิสก์ได้ อาจเกิดจากการตั้งค่าในไบออสไม่ถูกต้อง หรือการเชื่อมต่อไม่แน่น ควรตั้งค่าใหม่ หรือตรวจสอบการเชื่อมต่อใหม่
FLOPPY DISK CNTRLRERROR OR NO CNTRLR PRESENT ไบออสไม่สามารถติดต่อกับตัวควบคุมฟล็อบปี้ดิสก์ได้ อาจเกิดจากการตั้งค่าในไบออสไม่ถูกต้อง หรือการเชื่อมต่อไม่แน่น ควรตั้งค่าใหม่ หรือตรวจสอบการเชื่อมต่อใหม่
HDD Controller Failure มีปัญหากับตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ อาจเกิดจากการตั้งค่าในไบออสไม่ถูกต้อง หรือการเชื่อมต่อไม่แน่น ควรตั้งค่าใหม่ หรือตรวจสอบการเชื่อมต่อใหม่
I/O card parity error at XXX มีปัญหาในส่วนของการ์ขยายที่ตำแหน่ง XXX อาจเกิดจากการตั้งค่าในไบออสไม่ถูกต้อง หรือการเชื่อมต่อไม่แน่น ควรตั้งค่าใหม่ หรือตรวจสอบการติดตั้งใหม่
Invalid configuration information for slot X การ์ดที่อยู่บนสล็อต X กำหนดค่าไม่ถูกต้อง การเชื่อมต่อไม่แน่น ควรตั้งค่าใหม่ หรือตรวจสอบการติดตั้งใหม่
Keyboard Error คีย์บอร์ดมีปัญหา หรือไม่ได้ติดตั้งไว้ ควรตรวจสอบคีย์บอร์ด
Memory Address Error at XXX ไบออสพบหน่วยความจำมีปัญหาที่ตำแหน่ง XXX ควรตรวจสอบหน่วยความจำหรืออาจต้องเปลี่ยนใหม่
Memory parity Error at XXX ไบออสพบหน่วยความจำมีปัญหาที่ตำแหน่ง XXX ควรตรวจสอบหน่วยความจำหรืออาจต้องเปลี่ยนใหม่
Memory Verify Error at XXX ไบออสพบหน่วยความจำมีปัญหาที่ตำแหน่ง XXX ควรตรวจสอบหน่วยความจำหรืออาจต้องเปลี่ยนใหม่
parity Error XXX ไบออสพบหน่วยความจำมีปัญหาที่ตำแหน่ง XXX ควรตรวจสอบหน่วยความจำหรืออาจต้องเปลี่ยนใหม่
PRESS A KEY To REBOOT ไบออสพบปัญหาบางอย่างเกิดขี้น โดยพยายามแก้ปํญหาด้วยการสั่งให้บูตใหม่


การแก้ปัญหาครื่องแฮงค์
    เครื่องแฮงค์เพราะไดรเวอร์
ไดรเวอร์คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์และระบบ ปฏิบัติการหรืออธิบายง่ายๆ ก็คือคอยทำหน้าที่แนะนำให้ระบบปฏิบัติการรู้จักและทำงาน ร่วมกับฮาร์ดแวร์ได้นั่นเอง ดังนั้นหากอุปกรณ์ตัวไหนที่ไม่ได้ลงไดรเวอร์ ก็อาจทำให้ระบบปฏิบัติการไม่รู้จัก จึงไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ดูแล้วไดรเวอร์ ไม่น่าจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญหาใช่มั้ยครับ แต่เนื่องจากว่า บางครั้งไดรเวอร์ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ไม่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ตัวเก่า ได้ มีผู้ใช้หลายคนยกเครื่องมาให้ ช่างคอมพิวเตอร์ตรวจเช็คเนื่องจากปัญหาเครื่องแฮงค์บ่อยพอสอบถามถึงปัญหาก็ พบว่าผุ้ใช้ได้เคยอัพเดท ไดรเวอร์รุ่นใหม่ที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อตรวจเช็คแล้วก็พบว่าไดรเวอร์ที่ผุ้ใช้ อัพเดทนั้นเป็นไดรเวอร์รุ่นทดสอบที่หลายเว็บไซต์มักชอบนำมาให้ดาวน์โหลดไป ทดสอบกันดูก่อน เมื่อไดรเวอร์ยังไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่สามารถทำงานเข้ากับฮาร์ดแวร์ บางตัวได้จึงทำให้เกิดปัญหาเครื่องแฮงค์ นั่นเอง ซึ่งปัญหานี้พบได้บ่อยมาก

   สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของ ผู้ใช้ก่อน หากพบเครื่องที่มีอาการแฮงค์หลังจากที่ผู้ใช้อัพเดทไดรเวอร์ลงไปให้ สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเกิดจากสาเหตุนี้ วิธีแก้ปัญหาก็คือให้จัดการถอดไดรเวอร์ที่มีปัญหานั้นทิ้งไป แล้วลงไดรเวอร์ตัวเก่าที่เคยใช้งานได้ดีกลับไปเหมือนเดิม โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้คลิกขวาที่ไอคอน My Computer > Properties
2. ที่หน้าต่าง System properties ให้คลิกแท็ป Device Driver
3. จากนั้นคลิกขวาที่ไดรเวอร์ของอุปกรณ์ที่มีปัญหา แล้วเลือกคำสั่ง Remove ไดรเวอร์นั้นออกไปแล้วลงไดรเวอร์ตัวเก่าที่เคยใช้งานได้ดีกลับไปเหมือนเดิม

   แต่บางครั้งไดรเวอร์ที่มากับอุปกรณ์ตั้งแต่ตอนแรกที่ซื้อมา ก็อาจทำให้มีปัญหาได้เหมือนกัน โดยจะ พบบ่อยมากในไดรเวอร์ของการ์ดแสดงผล 3 มิติ และซาวด์การ์ดยี่ห้อโนเนมทางแก้ปัญหาคือ ต้องไปดาวน์โหลดไดรเวอร์เวอร์ชั่นใหม่จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตอุปกรณ์ยี่ห้อ ที่ใช้อยู่เท่านั้น ไม่ควรไปดาวน์โหลดจากเว็บไซต์อื่น เพราะจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้

   เครื่องแฮงค์เพราะโปรแกรมแอพพลิเคชั่น
หลายครั้งที่อาการแฮงค์มักเกิดหลังจากโปรแกรมที่ติดตั้ง อยู่ในเครื่องเข้ากันไม่ได้ บางไฟล์ของโปรแกรมตัวหนึ่งอาจเข้าไปเปลี่ยนแปลงไฟลืบางตัวของระบบปฏิบัติการจึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นตามมาได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากไฟล์นามสกุล DLL ซึ่งเป็นไฟล์สาธารณะของระบบปฏิบัติการ ที่มักจะมีหลายโปรแกรมที่เราติดตั้ง เข้ามาขอใช้ไฟล์นามสกุล DLL ด้วย แต่บางโปรแกรมก็มีไฟล์ DLL เวอร์ชั่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าไฟล์ DLL ตัวเดิมของระบบปฏิบัติการ เมื่อเราติดตั้งโปรแกรมนี้ลงไปมันก็จะเขียนไฟล์ DLL ตัวใหม่ทับตัวเก่าทันที จึงทำให้เกิดปัญหาเครื่องแฮงค์ตามมา เพราะไฟล์ DLL เวอร์ชั่นใหม่ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการได้

   สำหรับแนวทางแก้ไขของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมของการใช้งานของผู้ใช้ก่อน เมื่อพบเครื่องที่มีลักษณะเครื่องแฮงค์หลังจากที่ผุ้ใช้ลงโปรแกรมตัวใหม่ลงไป ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าอาจ มาจากสาเหตุนี้ วิธีการแก้ไขก็คือ หากเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบนวินโดวส์ 98 / Me ให้บูตเครื่องด้วยแผ่นบูตแล้วพิมพ์คำสั่ง Scanreg / restore เพื่อเป็นการย้อนกลับไปใช้รีจีสทรีที่วินโดวส์ได้แบ็คอัพเก็บไว้ 5 วันหลังสุด ก็ให้เราเลือกวันที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหาเพียงเท่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ครับ

   สำหรับวินโดวส์ Me และวินโดวส์ XP ก็สามารถใช้โปรแกรม System Restore เพื่อย้อนกลับไปยังวันที่ไม่เกิดปัญหาได้ โดยสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้ดังนี้

1. คลิกปุ่ม Start > Program > Accessories > System Tools > System Restore
2. เมื่อปรากฏโปรแกรม System Restore ขึ้นมาให้คลิกที่ช่อง Restore my computer to earlier time แล้วคลิกปุ่ม Next
3. เลือกวันที่และจุด Checkpoint ที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหา โดยวันที่ที่สามารถย้อนกลับไปได้จะเป็นช่องหนาๆ เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next
4. จะมีหน้าต่างแสดงรายละเอียดของวันที่และจุด Checkpoint ที่ต้องการย้อนระบบกลับไป ให้เราคลิกปุ่ม Next แล้วโปรแกรมก็จะเริ่มทำการย้อนระบบกลับไปยังวันที่และจุด Checkpoint ที่เรากำหนด 
 
 
สรุปอาการเสียและการแก้ไขปัญหายอดฮิตของคอมพิวเตอร์
      อาการเสียของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลายสาเหตุ สามารถวิเคราะห์อาการเสียเบื้องต้นได้ดังนี้
อาการ บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว ทุกอย่างไม่ทำงานและเงียบสนิท
      ให้ตรวจสอบที่พัดลมด้านท้ายเครื่องว่าหมุนหรือไม่ หากไม่หมุนอาจเป็นไปได้ว่าปลั๊กไฟเสีย หรืออาจขาดใน และให้เข้าไปเช็คที่ฟิวส์ของเพาเวอร์ซัพพลาย หากฟิวส์ขาดให้ซื้อฟิวส์รุ่นเดียวกันมาเปลี่ยน แต่ถ้าเพาเวอร์ซัพพลายเสีย ควรแนะนำลูกค้าให้เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายใหม่

อาการ บูตเครื่องแล้วจอมืด แต่ไฟ LED หน้าจอและไฟเคสติด
      ให้ตรวจสอบที่ปุ่มการปรับสีและแสงที่หน้าจอก่อน จากนั้นจึงเช็คในส่วนของขั้วสายไฟ และขั้วสายสัญญาณระหว่างเคสและจอภาพ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะเสียบการ์ดจอไม่แน่นหากตรวจเช็คอาการเหล่านี้แล้ว ทุกอย่างเป็นปกติดีสาเหตุน่าจะเกิดจากการ์ดแสดงผล และจอภาพ ให้นำอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวไปลองกับอีก เครื่องหนึ่งที่ทำงานเป็นปกติ หากการ์ดแสดงผลเสียต้องส่งเคลมหรือให้ลูกค้าเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเป็นจอภาพ ให้ตรวจเช็คอาการอีกครั้ง ถ้าซ่อมได้ก็ควรซ่อม

อาการ บูตเครื่องแล้วมีไฟที่หน้าเคสและไฟฟล็อบปี้ไดรฟ์ แต่จอมืดและทุกอย่างเงียบสนิท
      ให้ตรวจสอบที่การเชื่อมต่อระหว่างขั้วต่อสายไฟของเพาเวอร์ซัพพลายกับเมน บอร์ดถูกต้องหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่าตรวจสอบสายแพที่เชื่อมต่อกับขั้วต่อ IDE ของฮาร์ดดิสก์, ฟล็อบปี้ดิสก์ และซีดีรอม ถูกต้องหรือไม่ หลุดหลวมหรือไม่
ตรวจสอบการติดตั้งซีพียูว่าใส่ด้านถูกหรือไม่ ซีพียูเสียหรือไม่
ตรวจสอบจัมเปอร์หรือดิปสวิทช์ และการเข้าไปเปลี่ยนแปลงค่าในไบออสว่ามีการกำหนดค่าที่ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะค่าแรงดันไฟ Vcore

อาการ ที่จอภาพแสดงข้อความผิดพลาดว่า HDD FAILURE
ตรวจสอบการตั้งค่าในไบออสว่าถูกต้องหรือไม่
ตรวจสอบขั้วต่อ IDE ว่ามีการเสียบผิดด้านหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่า
ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ว่าเสียหรือไม่ โดยเข้าไปในเมนูไบออส และใช้หัวข้อ IDE HDD Auto Detection ตรวจหาฮาร์ดดิสก์ ถ้าไม่เจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีปัญหาแต่หากเจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์ปกติดี

อาการ เมื่อบูตเครื่องขึ้นมาแล้วมีสัญญาณเตือนดัง บี๊บ...........บี๊บ
      ควรตรวจสอบแรมว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ ติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่
ตรวจสอบการติดตั้งการ์ดต่างๆ บนเมนบอร์ดว่าติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ ตรวจสอบซีพียูและการเซ็ตจัมเปอร์ว่าถูกต้องหรือไม่วิธีแก้ไขเซ็ตจัมเปอร์ ใหม่โดยตรวจเช็คจากคู่มือเมนบอร์ด 
 
 


 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น